ขอตอนรับทุกท่าน! สู่บล็อคที่จัดทำเพื่อการศึกษาเรื่อง "เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู" ด้วยความยินดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา
             
          ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้


วัตถุประสงค์ในรายวิชา  
           
           เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
  1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
  2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
  3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
  4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
  5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
  6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
  7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้

  8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
  9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
 10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
 11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

 12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
 13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
 14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
 15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
 


กิจกรรม

1. การสร้างสื่อประกอบนิทรรศการ
2. การออกแบบกิจกรรมประกอบนิทรรศการ
3. การจัดแสดง display
4. การจัดแสดง exhibition

การประเมินผล

1. การร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน..... 5 %
2. การผลิตสื่อประกอบนิทรรศการ
    2.1 การหล่อต้นไม้..... 10%
    2.2 การสร้างป้ายไม้สน..... 10%
3. การจัดแสดง..... 10%
4. การจัดนิทรรศการ..... 10%
5. การย่อบทเรียน..... 10%
6. เนื้อหาและภาพประกอบ..... 10%
7. กิจกรรมประกอบนิทรรศการ..... 5%
8. การสอบกลางภาค..... 10%
9. การสอบปลายภาค..... 20%

การบูรณาการกับความพอเพียง

                 การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                               การจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                                การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรก ได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้ เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการแต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน              

                                การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรม ในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไร และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้     เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง หรือบูรณาการเข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆ ได้หมด นอก เหนือจากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรมเท่านั้น                       
                              สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้นและแต่ละชั้นปีดังนี้ 

                                     
                                         ช่วงชั้นที่ 1  เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน  ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว จะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้าง เด็กจะได้รู้พ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่น จะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้ว ประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียงและรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นมีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง     

                               
                                        ช่วงชั้นที่ 2  ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง               

                   
                                       ช่วงชั้นที่ 3  ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน และในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด    



                                       ช่วงชั้นที่ 4  เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้     ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น  การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไรแตกแยกหรือสามัคคีเป็นต้น               
                 ขณะนี้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาและเยาวชน ทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และอีกหลายหน่วยงาน วิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน คือ สานเครือข่าย ขยายความรู้ ควบคู่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และให้บุคลากรด้านการศึกษา สามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการสู่การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ตลอดจนผู้บริหารสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข


การบูรณาการกับความซื่อสัตย์

             ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงามมีความซื่อตรงและมีเจตนาที่บริสุทธิ์ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบไม่คดโกง

แนวคิด 

                       การดําเนินชีวิตในสังคมนั้นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องที่สําคัญและจําเป็นไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้นเราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้องและให้เห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคมอย่างไรบ้าง

ข้อคิด  

     “ ซึ่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน 
     “ ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมของคนดี 
     “ อย่าทำให้ผู้อื่นหมดความไว้วางใจในตัวเรา 
     “ สายตาที่สื่อถึงความจริงใจ  คือพลังแห่งมิตรภาพ ” 

ประโยชน์ของการมีความซื่อสัตย์ 

     1. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
     2. เป็นคนเปิดเผย จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
     3. เสริมสร้างให้ตัวเองเป็นคนกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
     4. เป็นที่เชื่อถือ และไว้ใจของคนอื่น 
     5. ชีวิตมีความสุข

โทษของการไม่มีความซื่อสัตย์  

     1. ชีวิตและหน้าที่การงานไม่ประสบความสำเร็จ
     2. ถูกมองเป็นคนขี้โกง ทุจริต ไม่มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น
     3. ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
     4. อาจหันไปประกอบอาชีพทุจริต ทำผิดกฎหมาย

เรื่องสั้นหรือบทความ  ผลของความซื่อสัตย์

                    ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าหุ้มส้น ผูก สีน้ำตาลเพื่อใช้กับเครื่องแบบตรวจการ  ได้เข้าไปดูที่ร้านรองเท้ามีชื่อแห่งหนึ่ง  พบรองเท้าสีน้ำตาล ผูก แต่เป็นแบบสปอร์ต จึงถามคนขายว่า รองเท้าแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบตรวจการได้หรือไม่ เขาบอกว่าใช้ได้ ข้าพเจ้าไม่ทันได้อ่านระเบียบชัดเจนก็นึกว่าคงจะใช้ได้ แต่ใจหนึ่งคิดว่าไปอ่านระเบียบเสียให้แน่นอนก่อน จะได้ไม่เสียเวลาและเงินเปล่า จากนั้นจึงได้ไปดูที่ร้านรองเท้าอีกแห่งหนึ่ง ก็พบรองเท้าสีน้ำตาลแบบเดียวกันนั้นเข้าอีก  แต่คนขายพูดคนละอย่างว่า  รองเท้าสีน้ำตามแบบสปอร์ตนี้ ถ้าจะว่ากันตามระเบียบจริง ๆ แล้ว ก็ใช้แต่งกับเครื่องแบบตรวจการไม่ได้ ต้องใช้แบบเรียบ ๆ รองเท้าแบบตรวจการเคยมีจำหน่ายทีนี่ แต่บัดนี้หมดเสียแล้ว”  ข้าพเจ้านึกชมคนขายนั้น  ที่พูดตามความจริง ก็เลยซื้อรองเท้าคู่นั้น ไม่ใช่เพื่อจะเอามาใช้กับเครื่องแบบตรวจการ แต่ซื้อเพื่อเป็นรางวัลความสุจริตของผู้ชายคนนั้น
มีคนเป็นอันมาก ที่ยอมพูดเท็จเพื่อหากำไรเพียงเล็กน้อย แต่ต้องสูญเสียกำไรมาก ๆ ที่จะได้ภายหลัง  คนขายของที่หลอกลวงผู้ซื้อมักตั้งร้านอยู่ไม่รอด หรือไปรอดก็หาทางเจริญไม่ได้
การที่คนยอมพูดเท็จนั้น  ก็โดยเหตุสองอย่างคือ  โลภหนึ่ง เห็นแก่ตนเองหนึ่ง  ความโลภและความเห็นแก่ตนเอง   ทำให้คนนั้นขาดความสัตย์สุจริต   ถ้าอยู่กับคณะก็ทำให้คณะต้องเสียชื่อเสียง อยู่ในสังคมก็ทำให้สังคมต้องเดือดร้อน ถ้ามีคนอย่างนี้ในชาติมากๆ ก็ทำให้ชาติวุ่นวาย แตกแยก หาสามัคคีมิได้   เบนจามิน  แฟรงกลิน ปราชญ์คนสำคัญของอเมริกาให้คำเตือนใจ ที่มีชื่อเสียงมากไว้คำหนึ่งว่า  “ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นวิธีการเยี่ยมยอด 
            ท่านผู้อ่านควรยึดเป็นทางปฏิบัติในการดำรงชีวิต จะเห็นว่าได้ผลเกินคาด

พฤติกรรมที่ปรารถนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ

 1. ฝึกที่จะเป็นคนซื่อตรงต่อตนเอง และผู้อื่นในทุก ๆ เรื่อง
 2. กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อยืนยันถึงความซื่อสัตย์ของเราและเรียกร้องให้คนรอบข้างเราซื่อสัตย์ด้วย


1 ความคิดเห็น:

  1. ตรวจแล้ว..ตั้งใจทำงานได้ดีมาก ขอให้สร้างสรรค์งานในเนื้อหาบทเรียนต่อๆไปได้เลย รายละเอียดอื่นค่อยพบกันในห้องเรียนปกติ

    ตอบลบ